(Last Updated On: 29/10/2021)
7 อาหารบำรุงอสุจิ

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังถูกกล่าวหาว่า “ไม่มีน้ำยา” คงจะทำให้สูญเสียความมั่นใจไปไม่น้อย บางคนอาจจะกำลังมองหาวิธีบำรุงอสุจิอยู่ ซึ่งคู่แต่งงานหลายคู่ที่พยายามมีลูกแต่ไม่มีสักที ร้อยละ 20-30 มีสาเหตุมาจากฝ่ายชาย

โดยปกติแล้วถ้าคู่แต่งงานที่ฝ่ายหญิงอายุน้อยกว่า 35 ปี มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมออาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ฝ่ายหญิงควรจะตั้งครรภ์ภายใน 12 เดือน หรือภายใน 6 เดือนถ้าฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี

แต่ถ้าเกินจากนี้แสดงว่าคู่ของคุณเข้าข่ายมีบุตรยากแล้ว ควรจูงมือกันไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากฝ่ายคุณผู้ชายเอง หรืออาจจะเกิดจากฝ่ายหญิง หรืออาจจะทั้งคู่ก็ได้

ปัญหาการมีลูกยาก

จากฝ่ายหญิง

เป็นไปได้หลายสาเหตุ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาหรือบางเกินไป การมีเนื้องอกหรือติ่งเนื้อในโพรงมดลูก การเป็นช็อกโกแล็ตซีสต์ การมีปัญหาด้านฮอร์โมน ทำให้ไข่ตั้งต้นมีน้อย ไข่ไม่ตก ไข่ไม่โต ไข่ไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์

จากฝ่ายชาย

แต่สำหรับสาเหตุการมีลูกยากของฝ่ายชายสาเหตุหลักเกิดจากปัญหาของคุณภาพน้ำเชื้อหรือน้ำเชื้ออ่อน ซึ่งคือที่มาของคำว่า “ไม่มีน้ำยา” นั่นเอง คุณผู้ชายที่สงสัยว่าตัวเองมีปัญหาคุณภาพน้ำเชื้อหรือไม่ สามารถไปตรวจได้ที่คลินิกหรือโรงพยาบาล ก่อนไปตรวจควรงดการหลั่ง 3-5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น การใส่กางเกงรัด โดยน้ำเชื้อที่มีคุณภาพจะต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในทุก ๆ ด้าน คือ

  • ปริมาณ – น้ำเชื้อไม่น้อยกว่า 1.5 มล. ต่อการหลั่ง 1 ครั้ง
  • ความเข้มข้น – ปริมาณความเข้มข้นของเชื้อไม่น้อยกว่า 15 ล้านตัว/มล. เพื่อให้มีปริมาณเหลือรอดมากพอ เพราะสภาวะในช่องคลอดอาจทำให้อสุจิตายไปบางส่วน
  • การเคลื่อนที่ – จำนวนอสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าไม่น้อยกว่า 32% เพื่อให้สามารถวิ่งไปผสมกับไข่ได้
  • รูปร่าง – จำนวนอสุจิที่รูปร่างปกติต้องไม่น้อยกว่า 4% เพราะธรรมชาติไข่จะไม่ยอมให้อสุจิที่รูปร่างผิดปกติเข้าผสม หรือหากทำการผสม อาจจะไม่เจริญต่อจนสมบูรณ์

อึดแค่ไหนก็ไร้ประโยชน์ ถ้าอสุจิไม่แข็งแรง

แค่ “อึด” อย่างเดียวคงยังไม่พอ เพราะต่อให้อึดแค่ไหน ก็มีลูกยากได้ ปัญหาคุณภาพน้ำเชื้อนั้น ส่วนน้อยมากที่จะเป็นมาแต่กำเนิด ส่วนมากแล้วจะมาเป็นทีหลัง ซึ่งอาจมาจากปัญหาสุขภาพ และเกิดจากพฤติกรรมของคุณผู้ชายเอง ดังต่อไปนี้

  1. ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ
  2. การเป็นโรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน
  3. มีปัญหาบริเวณอวัยวะเพศเช่น อันฑะอักเสบ เนื้องอก ติดเชื้อ
  4. ผลข้างเคียงกับการใช้ยาบางอย่าง เช่น Glucocorticoid ในระยะยาว จะส่งผลทำให้ระดับฮอร์โมน Testosterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายลดลง
  5. การสูบบุหรี่ ทำให้เกิดสารพิษ และอนุมูลอิสระในร่างกาย ไปทำลายตัวเชื้ออสุจิ ทำให้ลดจำนวน หรือรูปร่างผิดปกติมากขึ้น
  6. การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับบุหรี่ สามารถทำจำนวนเชื้อลดลง และแอลกอฮอล์ยังขัดขวางการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต้องการสร้างเชื้อที่แข็งแรง
  7. การขาดสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุที่ใช้ในการสร้างเชื้ออสุจิ
  8. การใส่กางเกงรัด การอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ

7 อาหารชั้นเลิศบำรุงอสุจิ

แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ยังไม่สายเกินแก้ ปัญหาเชื้ออสุจิไม่แข็งแรงสามารถแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และทานอาหารที่บำรุงเชื้ออสุจิ เรามาดูกันว่ามีลูกยากกินอะไรดี

1. ซิงค์ หรือแร่ธาตุสังกะสี (Zinc)

Zinc ซิงค์

ถ้าคู่ของคุณถูกวินิจฉัยว่ามีบุตรยากจากฝ่ายชาย ซิงค์จะเป็นอย่างแรกที่หมอจะสั่งจ่ายมาให้คุณกิน เพราะเรียกได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อระบบสืบพันธุ์เพศชายอย่างมาก

หากระดับซิงค์ในร่างกายต่ำเกินไป หรือได้รับไม่เพียงพอจากอาหาร จะส่งผลต่อปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และคุณภาพของน้ำเชื้อ

เนื่องจากร่างกายจำเป็นต้องใช้ซิงค์ในขั้นตอนของการสร้างเชื้ออสุจิ การรับประทานซิงค์จะช่วยให้ร่างกายของคุณปรับสมดุลฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และช่วยเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเชื้อหรือเพิ่มจำนวนเชื้ออสุจิ แถมยังยังช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากขึ้นอีกด้วย

โดยผู้ชายควรได้รับซิงค์วันละ 15 มิลลิกรัม อาหารที่เป็นแหล่งของซิงค์ เช่น หอยนางรม ตับ ปลาแซลมอน ผักคะน้า หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น

2. แอล-อาร์จินีน (L-Arginine)

L-Arginine แอล-อาร์จินีน

แอล-อาร์จินีนเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง พบมากในเนื้อแดง เนื้อสัตว์ปีก ปลา ถั่ว ธัญพืช และอาหารจำพวกนม

หลายคนอาจจะเคยเห็นแอล-อาร์จินีน ถูกใช้ในกลุ่ม ผู้ออกกำลังกาย เล่นกล้าม ซึ่งนั่นก็เป็นประโยชน์หนึ่งของแอล-อาร์จินีน

แต่ความจริงแล้วกรดอะมิโนมตัวนี้มีประโยชน์ที่สำคัญต่อระบบสืบพันธุ์เพศชายอย่างมาก เพราะมันทำให้คุณผู้ชายที่นกเขาไม่ขัน กลับมาฟิตปึ๋งปั๋งได้โดยไม่ต้องพึ่งยา แถมยังช่วยเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของเชื้ออสุจิ และเพิ่มการเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิได้อีกต่างหาก เรียกว่ายิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัวเลยทีเดียว

3. ซิลีเนียม (Selenium)

Selenium ซิลีเนียม

ชื่อนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูกันสักเท่าไหร่ แต่ซิลีเนียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระสูงมาก (antioxidant) ทำให้ช่วยปกป้องอสุจิจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ที่เกิดจากสารพิษ จากการสูบบุหรี่ จากมลภาวะที่เราสัมผัสทุกวัน

ซึ่งอนุมูลอิสระมีผลต่อเชื้ออสุจิคือในผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยากมักจะมีปริมาณซิลีเนียมในน้ำเชื้อต่ำ ซึ่งทำให้การสร้างเชื้ออสุจิมีความผิดปกติ รูปร่างไม่สมบูรณ์ อาหารที่มีซิลีเนียมสูง ได้แก่ อาหารทะเล เครื่องใน ถั่วบราซิล เมล็ดธัญพืช

4. วิตามินซี

Vitamin C วิตามินซี

วิตามินตัวนี้พวกเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี วิตามินซีเองก็มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน มีงานวิจัยพบว่าการที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระสูง จะทำให้เกิดความเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative stress)

ซึ่งมีผลต่อเชื้ออสุจิอย่างมากคือ อนุมูลอิสระจะไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของตัวเชื้ออสุจิ ทำให้ตัวเชื้อเคลื่อนที่ได้น้อยลง และไม่สามารถเจาะไข่ได้

นอกจากนี้อนุมูลอิสระยังสามารถทำลาย DNA ของตัวเชื้อได้อีกด้วย ทำให้ DNA ของเชื้อเกิดความผิดปกติ ทำให้เมื่อเจาะไข่เข้าไปแล้วไม่เกิดการผสม หรือผสมแล้วตัวอ่อนไม่เจริญต่อ

การทานวิตามินซีเสริมในผู้ที่มีปัญหาคุณภาพน้ำเชื้อจึงเป็นการช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มทั้งจำนวนความเข้มข้นของเชื้อ การเคลื่อนที่ของเชื้อ และทำให้รูปร่างของอสุจิดีขึ้น

5. วิตามินบีรวม

Vitamin B วิตามินบี

วิตามินบีรวมเกี่ยวข้องกับแทบจะทุกระบบการทำงานของร่างกาย ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากสารอาหารต่าง ๆ และยังช่วยในระบบสืบพันธุ์อีกด้วย

โดยเฉพาะวิตามินบี 9 (กรดโฟลิก) และ วิตามินบี 12 จะช่วยเพิ่มคุณภาพอสุจิ โดยการเพิ่มจำนวนตัวอสุจิ เพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ และลดความเสียหายของดีเอ็นเอของตัวอสุจิ

กระซิบบอกนิดนึงว่าคุณผู้ชายควรแบ่งวิตามินบี 9 ให้ภรรยาที่เตรียมตัวท้องกินด้วย และเมื่อตั้งท้องแล้วก็สามารถกินต่อได้ เพราะวิตามินบี 9 ช่วยในการสร้างตัวอ่อน และป้องกันลูกน้อยจากความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท อาหารที่มีวิตามินบี 9 สูง ได้แก่ ถั่ว และ ผักใบเขียวต่าง ๆ ส่วนอาหารที่มีวิตามินบี 12 สูงได้แก่ เนื้อ ปลา ไข่ นม

6. ตังถั่งเช่า (Cordyceps)

Cordyceps ตังถั่งเช่า

หากใครต้องการบำรุงด้วยสมุนไพรจีน ลองหาถั่งเช่ามากินดู เพราะมีการวิจัยในผู้ชายที่ใช้ถั่งเช่าเป็นอาหารเสริม พบว่าช่วยเพิ่มความเข้มข้นของเชื้อ และช่วยลดปริมาณของเชื้อที่ผิดปกติลงได้

7. โสม

Ginseng โสม

อีกหนึ่งสุดยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย ที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน ในโสมมีสารสำคัญที่เราคงจะคุ้นหูกันดีที่เรียกว่า จินเซนโนไซด์ (Ginsenoside) ซึ่งไปช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำเชื้อ ทำให้ช่วยเพิ่มความเข็มข้นของอสุจิได้

ถ้าคุณผู้ชายหันมาบำรุงร่างกายด้วย 7 ตัวที่ช่วยกล่าวมา ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งดบุดหรี่ งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ รับรองว่าคุณจะกลับมามีน้ำยาได้ภายในไม่กี่เดือน

อาหารเสริมท่านชาย OMG Emperor
บำรุงร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพ แก้ปัญหามีบุตรยาก
  • บำรุงอสุจิด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด
  • กระปรี้กระเปร่า แรงดีไม่มีตกตลอดวัน
  • บำรุงสมรรถภาพ คืนความฟิตและสมรรถภาพให้กลับมา
  • เสริมการทำงาน ระบบประสาทและสมอง
  • นอนหลับสบาย ช่วยคลายความเครียด
OMG Emperor อาหารเสริมท่านชาย
สั่งซื้อสินค้า คลิก

อ้างอิง

  1. ธนัท จิรโชติชื่นทวีชัย. 2014. ภาวะการมีบุตรยากที่มีสาเหตุจากเพศชาย.
    https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=907:male-infertility&catid=45&Itemid=561
  2. Ali Fallah et al. 2018. Zinc is an Essential Element for Male Fertility: A Review of Zn Roles in Men’s Health, Germination, Sperm Quality, and Fertilization. J Reprod Infertil. 2018 Apr-Jun; 19(2): 69–81.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6010824/
  3. Scibona M et al. 1994. L-arginine and male infertility. Minerva Urol Nefrol. 1994 Dec;46(4):251-3.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7701414
  4. Bleau G et al. 1984. Semen selenium and human fertility. Fertil Steril. 1984 Dec;42(6):890-4.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/6500080
  5. Ahsan U et al. 2014. Role of selenium in male reproduction – a review. Anim Reprod Sci. 2014 Apr;146(1-2):55-62.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24613013
  6. Najafipour R et al. 2017. Effect of B9 and B12 vitamin intake on semen parameters and fertility of men with MTHFR polymorphisms. Andrology. 2017 Jul;5(4):704-710.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/28440964
  7. Saleem Ali Banihani. 2017. Vitamin B12 and Semen Quality. Biomolecules. 2017 Jun; 7(2): 42.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5485731/
  8. Mohammed Akmal et al. 2006. Improvement in human semen quality after oral supplementation of vitamin C. J Med Food . Fall 2006;9(3):440-2.
    https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17004914/
  9. Azzawi Hadi et al. 2019. The effect of L-Arginine of treatment for infertile men on semen parameters. 24. 2019. 10.25130/tjps.24.2019.081.
    https://www.researchgate.net/publication/335857043_The_effect_of_L-Arginine_of_treatment_for_infertile_men_on_semen_parameters
  10. Kar Wah Leung and Alice ST Wong. 2013. Ginseng and male reproductive function. Spermatogenesis. 2013 Jul 1; 3(3): e26391.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3861174/