(Last Updated On: 21/07/2021)
ถั่งเช่า การต้านอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (Free radicals) คือ โมเลกุลที่มีอิเล็กตรอนอิสระที่ไม่มีคู่ (Unpaired Electron) วิ่งอยู่ในวงนอกของโมเลกุล ทำให้ตัวมันไม่เสถียรและไวต่อการเกิดปฏิกิริยามาก โดยพยายามจับอิเล็กตรอนของโมเลกุลข้างเคียงเพื่อให้ครบคู่ ส่งผลให้โมเลกุลที่ถูกแย่งอิเล็กตรอนกลายเป็นอนุมูลอิสระตัวใหม่ เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ซึ่งทำลายเซลล์ต่อไปเรื่อย ๆ ได้ถึงระดับ DNA

โดยปกติร่างกายมนุษย์จะมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาจากกระบวนการ เมทาบอลิซึม ต่าง ๆ ของเซลล์ โดยเฉพาะอนุมูลอิสระของออกซิเจน (Reactive oxygen species, ROS) และ อนุมูลอินสระของไนโตรเจน (Rreactive Nitrogen Species, RNS) ซึ่งถูกผลิตและควบคุมเพื่อรักษาสมดุลในระดับเซลล์[1] โดยสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

แต่หากอนุมูลอิสระเกินความสมดุลย์หรือที่เรียกว่าเกิดภาวะ Oxidative Stress จะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ มีหลายโรคที่มีสาเหตุมาจากการเกิดภาวะ Oxidative Stress เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคทางระบบประสาทรวมถึงอัลไซเมอร์ โรคปอด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไต โรคตา[2] เป็นต้น

ซึ่งแหล่งการเกิดอนุมูลอิสระล้วนเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราเผชิญอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น รังสียูวี อนุมูลอิสระออกซิเจนในอากาศ ซึ่งถือเป็นมลภาวะทางอากาศชนิดหนึ่ง การผลิต ROS และ RNS ของเม็ดเลือดขาว การสูบบุหรี่ การไหม้ของสารอินทรีย์ระหว่างทำอาหาร การได้รับสารพิษ แอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิดมากเกินไป[3] ความเครียด การออกกำลังกายที่มากเกินไป หรือในภาวะที่จำนวนสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลงของผู้สูงอายุ[2]

เมื่ออนุมูลอิสระสามารถรับเพิ่มได้จากภายนอก เราจึงควรได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มจากภายนอกเช่นกัน เพื่อช่วยกำจัดและรักษาสมดุลของอนุมูลอิสระในร่างกาย แหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เซเลเนี่ยม เบต้าแคโรทีน ไลโคพีน เป็นต้น หรือสารสกัดจากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ถั่งเช่า เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ

การเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ

ถั่งเช่า

มีการทดลองหาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant Activity) ของสารสกัดจากถั่งเช่า พบว่าที่สารสกัดความเข้มข้น 4–8 มก./มล. สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ถึง 80% และที่สารสกัดความเข้มข้น 0.8-1.6 มก./มล. ยังสามารถยับยั้งการทำลายกรดไขมัน หรือก็คือยับยั้งการเกิดความผิดปกติของไขมันเนื่องจากอนุมูลอิสระ (lipid peroxidation) ได้ถึง 90% ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินอีในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย[4]

อีกการทดลองหนึ่งพบว่า สารสกัดจากถั่งเช่าสามารถกำจัดอนุมูลอิสระออกซิเจนได้ดี นอกจากนี้ยังยับยั้งการเกิดความผิดปกติของไขมันอันเนื่องมาจากอนุมูลอิสระ หรือคลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ได้อีกด้วย[5] ซึ่งมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Cu/Zn SOD ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในระบบกำจัดอนุมูลอิสระของร่างกาย

เห็ดหลินจือ

สารประกอบหลายชนิดในเห็ดหลินจือ เช่น polysaccharides และ triterpenoids มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ[6] และสารต้านอนุมูลอิสระจากเห็ดหลินจือยังถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด[7]

โสมเกาหลี

จากการทดลองผลของโสมเกาหลีต่อกิจกรรมเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ และการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน LDL ในกลุ่มคนสุขภาพดี 57 คนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า กิจกรรมเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย (superoxide dismutase (SOD) และ glutathione peroxidase) มีค่าเพิ่มขึ้น การเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน LDL ลดลง[8] ซึ่งเป็นผลจากการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโสมเกาหลีนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นสารอาหารที่สำคัญ แม้ร่างกายจะสามารถสร้างขึ้นมาได้เองตามธรรมชาติ แต่กลับไม่เพียงพอกับปริมาณของอนุมูลอิสระที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การได้รับจากอาหารที่มีประโยชน์ร่วมด้วย จึงจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้อย่างที่ต้องการ

หรือวิธีที่ง่ายกว่านั้นเราก็เตรียมมาให้คุณแล้วกับ OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น เพราะสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญให้ OMG Cordy-1 ช่วยดูแลคุณครับ

CORDY-1 ถั่งเช่าทิเบตแท้ 100%
(60 แคปซูล)

OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น ฟื้นฟูร่างกายและเสริมสมรรถภาพใน 1 เดียว

อาหารเสริม ตังถั่งเช่า
สั่งซื้อสินค้า คลิก

อ้างอิง

  1. TPA Devasagayam, JC Tilak, KK Boloor, Ketaki S Sane, Saroj S Ghaskadbi, RD Lele. 2004. Free Radicals and Antioxidants in Human Health: Current Status and Future Prospects. JAPI. 2004; 52:794-804
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15909857
  2. Lien Ai Pham-Huy, Hua He, and Chuong Pham-Huy. 2008. Free Radicals, Antioxidants in Disease and Health. International journal of Biomedical science.2008; 4 (2): 89-96
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23675073
  3. Mahantesh S.P., Gangawane A.K., Patil C.S. 2012. Free Radicals, Antioxidants, Diseases And Phytomedicines In Human Health: Future Perspects. World Research Journal of Medicinal & Aromatic. 2012; 1 (1)
    https://bioinfopublication.org/files/articles/1_1_2_WRJMAP.pdf
  4. C.-H.Dongab,Y.-J.Yao. 2008. In vitro evaluation of antioxidant activities of aqueous extracts from natural and cultured mycelia of Cordyceps sinensis. LWT – Food Science and Technology. 2008; 41(4):669-677
    https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S002364380700182X
  5. Yamaguchi Y, Kagota S, Nakamura K, Shinozuka K, Kunitomo M. 2000. Antioxidant activity of the extracts from fruiting bodies of cultured Cordyceps sinensis. Phytother Res. 2000 Dec;14(8):647-9
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11114006
  6. Sissi Wachtel-Galor, John Yuen, John A. Buswell, and Iris F. F. Benzie. Herbal Medicine: Biomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition. 2011 by Taylor & Francis Group, LLC
    http://file.zums.ac.ir/ebook/283-Herbal%20Medicine%20-%20%20Biomolecular%20and%20Clinical%20Aspects,%20Second%20Edition%20%28Oxidative%20Stress%20and%20Di.pdf
  7. Wachtel-Galor S, Szeto Y. T, Tomlinson B, Benzie. F I. F. Ganoderma lucidum (Lingzhi): Acute and short-term biomarker response to supplementation. Int J Food Sci Nutr. 2004;1:75–83
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14630595
  8. Ji Young Kim,Ju Yeon Park,Hee Jung Kang,Oh Yoen Kim, Jong Ho Lee. 2012. Beneficial effects of Korean red ginseng on lymphocyte DNA damage, antioxidant enzyme activity, and LDL oxidation in healthy participants: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. Nutrition Journal.2012;11:47
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22805313